วิธีเลือกกล่องโฟม

คุณเคยสงสัยบ้างไหมว่าการเรียกชื่อ กล่องโฟม ตาม น้ำหนัก มีที่มาจากไหน?
เราจะช่วยไขคำตอบทั้งหมด จากขั้นตอนการคำนวณที่มาของน้ำหนักที่ใช้เป็นชื่อเรียกกล่องโฟม

หากกล่าวในทางวิทยาศาสตร์ เราสามารถทราบมวลหรือน้ำหนัก(กิโลกรัม) จากการแทนค่าในสูตรความหนาแน่น โดยความหนาแน่นที่ว่าเป็นการวัดน้ำหนักต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร สำหรับการคำนวณหาน้ำหนักที่กล่องโฟมสามารถรับได้ เรานำมาคำนวณเทียบกับความหนาแน่นของน้ำ นั่นจึงเป็นที่มาว่ากล่องโฟมจะสามารถบรรจุน้ำได้หนักเท่าไหร่ จึงเรียกโดยรวมว่าน้ำหนัก และเพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจเราขอแบ่งการคำนวณเป็น 2 ข้อ ดังนี้

ข้อ 1 คำนวณหาน้ำหนักทั้งหมดที่กล่องโฟมใบนั้นสามารถรับได้

คำนวณน้ำหนักด้วยการแทนค่าความหนาแน่นของน้ำและปริมาตรของกล่องโฟมตามสูตร m = DV

m = mass มวลหรือน้ำหนัก หน่วยกิโลกรัม

D = Density ความหนาแน่นของน้ำ (ค่าคงที่ 1,000 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร)

V = Volume ปริมาตรของกล่องโฟม (กว้าง x ยาว x สูง หน่วยลูกบาศก์เมตร)

ข้อ 2 คำนวณโดยเพิ่มค่าความปลอดภัย (Safety factor) ต่อการใช้งานกล่องโฟม

โดยนำผลลัพธ์ของน้ำหนักที่คำนวณได้จากข้อแรกหารด้วยสอง เพียงเท่านี้คุณก็จะทราบน้ำหนักที่ใช้เป็นชื่อเรียกกล่องโฟม

มาดูตัวอย่างการคำนวณ “กล่องโฟม 1 กิโลกรัม” กันค่ะ

m = น้ำหนักที่ต้องการทราบ

D = 1,000 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร

V = 0.132 x 0.19 x 0.09 = 0.002 ลูกบาศก์เมตร

แทนค่าทั้งหมดจะทำให้ทราบน้ำหนัก

m = 1,000 x 0.002 = 2 กิโลกรัม

นำผลลัพธ์ที่ได้มาหารสอง 2/2 = 1 กิโลกรัม

ทำไมต้องหารสองกับผลลัพธ์ของน้ำหนักที่คำนวณได้?

หากสังเกตพฤติกรรมการใช้กล่องโฟมของผู้บริโภค จะพบว่าคงไม่มีผู้ใดนำกล่องโฟมเพื่อใช้บรรจุน้ำเปล่าเต็มกล่อง(ตามสูตรการคำนวณที่ใช้ความหนาแน่นของน้ำเทียบ) แต่ส่วนมากจะนิยมบรรจุสิ่งของ อาหาร หรือแม้แต่การบรรจุน้ำแข็งลงในกล่องโฟมจนเต็ม ก็จะเกิดช่องว่างเสมอ ดังนั้นจึงลดทอนน้ำหนักลงครึ่งหนึ่งโดยประมาณ

ทำไมไม่ใช้ค่าน้ำหนักแรกเป็นชื่อกล่องโฟมเพราะจะรับน้ำหนักได้มาก ก็น่าจะยิ่งมีโอกาสขายได้ง่าย?

เพราะเราไม่ได้เพียงแค่ผลิตเพื่อให้ขายได้เท่านั้น แต่สิ่งที่เราให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกคือ ความปลอดภัยของผู้ใช้งานและสิ่งของที่บรรจุในกล่องโฟม เนื่องจากสภาพการใช้งานจริงของกล่องโฟมที่มีการบรรจุสิ่งของต่างๆ มักจะถูกเคลื่อนย้าย ทั้งการยกการวาง การวางตั้งซ้อนกันเป็นจำนวนหลายชั้น หรือแรงกระแทกที่เกิดระหว่างการขนส่ง ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของการลดทอนความสามารถในการรับน้ำหนักของกล่องโฟม

แล้วแท้ที่จริงกล่องโฟมสามารถรับน้ำหนักได้เท่าไหร่?

กล่องโฟมจะสามารถรับน้ำหนักได้ตามสูตรการคำนวณในขั้นตอนแรกที่คำนวณเทียบกับความหนาแน่นของน้ำ(ที่ไม่ได้หารสอง) แต่เพราะเราคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้งานและสิ่งของที่บรรจุในกล่องโฟมเป็นสำคัญ จึงจำเป็นที่ต้องปรับลดเพื่อเพิ่มความปลอดภัย และชะลออายุการใช้งานกล่องโฟมให้ยาวนานมากขึ้น

กล่องโฟม ของ โปลิโฟม ” ทุกใบสามารถรับน้ำหนักได้มากกว่าน้ำหนักที่ระบุตามชื่อเรียกเสมอ แต่เพื่อความปลอดภัยในการรับน้ำหนักกับสภาพที่ใช้งานจริง จึงตั้งชื่อกล่องโฟมโดยเผื่อการรับน้ำหนักไว้อีกเท่าตัวเป็นค่าความปลอดภัย (Safety Factor) ค่ะ

เพราะเราคือต้นตำรับที่ไม่ได้มีดีแค่ผลิตภัณฑ์คุณภาพและการบริการด้วยความใส่ใจ แต่เรารู้ลึก รู้ดีและรู้จริงทุกเรื่องของโฟม เราจึงยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ที่ถูกสั่งสมมายาวนานกว่าครึ่งศตวรรษให้แก่คุณ